เรามักจะได้ยิน บางคนพูดว่า “ถ่ายรูปมา ไม่ได้แต่งเลยนะเนี้ย” เหมือนอยากจะบอกว่าสวยจากการถ่ายจริงๆ สวยด้วยฝีมือ ตอนกด จริงๆ หรือ บางคนถ่ายฟิล์ม ก็จะต่อต้านการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลสุดๆ
เลยอยากจะมาแบ่งปัน มุมมองตรงนี้เพื่อให้ สนุกกับการถ่ายภาพ ด้วยกล้อง DSLR ได้มากขึ้น
เดิม ขั้นตอนการ ถ่ายภาพด้วยฟิล์มเป็น ดังนี้
1. เลือกฟิล์ม เพื่อให้ได้ คุณภาพ เนื้อ คอนทราส และโทนสี ตามต้องการ
เช่น
- เลือกยี่ห้อ และรุ่นของฟิล์ม
- การถ่าย Cross Process ด้วยฟิล์มสไลด์
- การถ่ายขาวดำ ด้วย ฟิล์มอินฟาเรด
2. ถ่ายภาพ ชดเชยแสง หลอกกล้องด้วยการปรับ ISO และอื่นๆ บางกรณีใส่ฟิลเตอร์สี หรือ ND เพื่อผลของภาพ บางกรณี ใช้การถ่ายซ้ำลงบน Frame เดียวกัน
3. ล้างฟิล์ม ควบคุมความเข้มน้ำยา ระยะเวลา ในการล้าง
4. นำฟิล์มที่ได้มาอัดภาพ เลือกกระดาษ เพื่อให้ภาพมีโทนสีและเนื้อตามต้องการ ใช้เทคนิคในห้องอัด ด้วยการ ซ้อนภาพ
burn ตัดส่วน(crop) ควบคุมความเข้มแสง ควบคุมระยะเวลาการฉายแสง ปรับสัดส่วน CMY (แสงของสี) เพื่อแก้สีของภาพ
5. ล้างภาพ ควบคุมความเข้มน้ำยา ระยะเวลา ในการล้าง
ได้ภาพตามต้องการ
ซึ่ง จะเห็นได้ว่า ทุกขั้นตอน “มีผลทำให้สีภาพผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง”
หรือถ้ามองในแง่บวกก็ “ควบคุมให้ได้สีของภาพ เพื่อให้ได้อารมณ์อย่างที่ต้องการ”
บนขั้นตอนที่ซับซ้อน และ ต้องผ่านการลองผิดลองถูก
ซึ่งหากมองในยุคดิจิตอล (โดยเฉพาะการถ่ายภาพเป็น RAW ไฟล์)
- ถ่ายภาพ ด้วยเลนส์ และ ฟิลเตอร์เพื่อให้ได้ effect ตามต้องการ
- Process Raw ด้วยโปรแกรม เพื่อ “ควบคุมให้ได้สีของภาพ อย่างที่ต้องการ” ด้วยการปรับ White Balance ปรับ Curve, Level, Contrast และอื่นๆ
- แก้ไข ตัดต่อ ในโปรแกรม Retouch เช่น Photoshop
- ได้ภาพตามต้องการ
ซึ่ง เห็นได้ว่า ทั้งสองแบบ ฟิล์ม กับ ดิจิตอล มี ความเหมือนกันคือ “การทำให้ได้ภาพอย่างที่ต้องการ”
หากทุกท่านได้ ลองอ่านประวัติ ของช่างภาพชื่อดังหลายคนจะพบว่า บุคคลเหล่านั้น ใส่ใจกับขั้นตอน
“การ Process ภาพ” (ล้างฟิล์ม อัดรูป) มากพอๆ กับการถ่ายภาพ
ซึ่งแต่เดิมที่เราถ่ายภาพด้วยฟิล์ม เราส่งฟิล์มให้ร้านรับอัดรูป ล้างอัดให้ จนได้ภาพสำเร็จ
ทำให้เกิดความเคยชิน คิดว่า การถ่ายภาพ จบ “เมื่อกดชัตเตอร์”
ทั้งที่จริงๆ รูปที่แสงสีถูกต้อง เหล่านั้น เป็นฝีมือร้านล้างรูป สัก สามส่วน
ในยุคดิจิตอลนี้ ด้วย ความสามารของกล้องราคา ไม่ถึงสองหมื่น
กับ PC ที่มีอยู่ที่บ้านของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
เราสามารถ ทำขั้นตอนที่ “ยุ่งยาก” เหล่านั้น ได้เองบนโต๊ะกินข้าวที่บ้าน ตอนนั่งดูละครน้ำเน่าตอนเย็น
ข้อจำกัด เรื่อง งบประมาณ เรื่อง สถานที่ (ไม่ต้องมีห้องอัด ไม่ต้องซื้อน้ำยาล้าง) หายไป
ซึ่งหมายความว่า เราสามารถสนุกกับการ “ล้างอัดภาพ” ได้เองที่บ้าน
เหมือนที่สมัยก่อน ต้อง “มีห้องอัดเป็นของตัวเอง”
ซึ่ง ฟังดู “ง่ายดาย” เหมือน ก๊อปปี้เพลง MP3 จากแผ่นพันทิพย์
แต่ ความเป็นจริง การปรับภาพให้ได้ “ดี” จำเป็นต้องมีความชำนาญ มีความเข้าใจในทั้ง ระบบไฟล์ภาพดิจิตอล, ข้อจำกัด, และที่สุดต้องเข้าใจในเรื่อง “ความงาม” สามารถสร้าง หรือ ส่งเสริม ความลึก ทางอารมณ์ หรือความหมายให้กับภาพที่ถ่ายได้
ทีนี้ ที่เขียนมาทั้งหมด อยากจะสรุปดังนี้
1. การปรับภาพ มันอยู่ที่ “เรา” ว่า ยอมรับได้แค่ไหน บางคน อาจจะเห็นว่าการเลือกฟิล์ม ยังอยู่ในความชำนาญจากการถ่ายภาพ แต่ การ burn ไม่ใช่ เพระขี้โกงแสงได้ หรือ การปรับสีรูปในคอมยอมรับได้ แต่ การรีทัชสิว ผิดคอนเซ็ป ก็ทำในระดับที่ “เราทำแล้วไม่ขัดกับความเป็นตัวเรา” และต้อง ยอมรับ “ความเสียเปรียบ” ที่จะเกิดขึ้นจากการที่คนอื่นปรับมาก เราปรับน้อย
คนที่ปรับ ก็ปรับให้มีลิมิต อย่าถึงขั้น ตัวหัวตัวเองไปแปะตัวบนตัว ตั๊กบงกช มันอาจจะดูเกินขอบเขต “การถ่ายภาพ” ไป
2. การถ่ายภาพด้วย Jpg หลายกรณี เปรียบเหมือนการทำขั้นตอนล้างอัดรูป ทั้งหมด (ซึ่งทำอะไรได้เยอะสร้างสรรได้อีกเพียบ)
ปล่อยให้เป็นไปตามลม แล้วแต่ ชิป ในกล้องจะพาไป WB ถูกบ้าง ผิดบ้าง สวยบ้างไม่สวยบ้าง
ถ้าอยากได้รูปสวย ก็ลองคิดง่ายๆว่า ชิป ในกล้อง กับ สมองและหัวใจเรา เนี้ย อะไรมันเซนส์ความงามดีกว่ากัน แต่ถ้าไปถ่ายรูปเล่น ขำๆ ขี้เกียจกลับมา Export อยากถ่าย jpg ก็ให้สบายใจ ขอให้รู้ว่าทำอะไรอยู่ก็พอ
ปล. ลองอ่าน ประโยคด้านล่าง นี้ครับ ความจริงแนะนำให้อ่านเว็บนี้ เยอะๆ มีประโยชน์มาก
อ้างอิง จาก หมายเหตุ เลข ( 9 ) จากเว็บหน้า
http://www.etcfoto.com/forum/index.php/topic,216.0.html
(9) เป็นการจินตนาการถึงผลงานที่จะออกมาและวางแผนตั้งแต่การกำหนด exposure กระบวนการล้างฟิล์มและอัดรูป การบังและเผา ก่อนที่จะกดชัตเตอร์