// บทความนี้ผมเขียนลงวรสารของสมาคมธุรกิจการภ่ายภาพ ที่พิมพ์แจกจ่ายให้สมาชิกทั่วประเทศครับ
วันนี้เอามาแปะให้อ่านกัน โดยแบ่งเป็นสองตอนนะครับจะได้ไม่ยาวเกินไป ติดตามตอนที่ 2ได้เร็วๆนี้ //
จอ LCD สำหรับการแต่งภาพเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เรา สามารถปรับแต่ง สีภาพให้ตรงกับงานพิมพ์ และควบคุมผลงานภาพถ่ายของเราให้ตรงใจลูกค้า
เมื่อก่อนนั้น จอ CRT หรือที่เราเรียกภาษาทั่วไปว่า จอป่อง มีคุณลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งคือมีความสามารถในการให้สีที่ดีและมีประสิทธิภาพเท่าๆกัน ในทุกยี่ห้อ เพราะมีเทคโนโลยีพื้นฐานเหมือนกัน แต่จอ LCD ปัจจุบันนั้น มี หลากหลายเทคโนโลยี และราคา จนอาจจะทำให้ท่านผู้อ่านเกิดความสงสัยว่าแล้วซื้อแบบไหนดี แบบไหนเหมาะกับการแต่งภาพ แล้วมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร
คุณลักษณะ ที่เราพิจรณาในการเลือกซื้อ LCD นั้นมีดังนี้
1. Contrast ratio อัตราส่วนคอนทราส หรือที่ ภาษาไทย เรียกว่าความเปรียบต่าง อธิบายง่ายๆคือ ความแตกต่างระหว่าง จุดที่ขาวที่สุดกับดำที่สุด ในภาพว่าจอสามารถสร้างให้ต่างกันได้มากแค่ไหน โดยเขียนค่าเป็น 1000:1 หรือ 50000:1 จอที่มีค่า Contrast ต่ำ จะแสดงสีดำได้ดำไม่สนิท ค่า Contrast มีสองแบบ คือ
Static contrast คือคอนทราส ที่สามารถสร้างได้ในการแสดงผล ภาพนิ่ง ภาพเดียว ในการปรับแต่งรูปภาพเราจะดูค่า Contrast แบบนี้เปรียบเทียบกันเป็นหลัก โดยค่านี้ จะมีค่าต่ำ ถือได้ว่าเป็นการแสดง Contrast แท้ๆ ของจอนั้นๆ ปกติอยู่ที่ 1:1000
Dynamic contrast คือ คอนทราสที่ วัดเมื่อแสดงภาพเคลื่อนไหว โดยค่าที่ถูกนำมาใช้โฆษณา มักจะ เป็นค่านี้ เนื่องจากจะให้ค่าที่สูง
โดยเทคนิคในการเพิ่มค่าคอนทราส แบบไดนามิคคือ เมื่อภาพใดที่แสดงผลในโทนมืด จอจะหรี่ หลอดไฟ หลังจอให้มืดลงโดยอัตโนมัติ ทำให้ภาพรวมมืดลง
เมื่อใดภาพที่แสดงผลเป็นภาพที่สว่าง จอก็จะปรับความสว่างของจอให้สูงขึ้นโดยอัตโนมัติ ทำให้ภาพสว่างขึ้น ซึ่ง การปรับความสว่างของจอเพื่อสร้าง dynamic contrast นี่ จะถูกใช้ในภาพเคลื่อไหว เช่น ในการเล่นเกมส์ หรือดูหนัง
2. Response time ความเร็วในการตอบสนองภาพ หรืออาจจะบอกได้ว่า เป็นความเร็วในการเปลี่ยนภาพ โดยค่ายิ่งน้อย เช่น 2ms ( มิลลิวินาที) ก็จะเปลี่ยนภาพได้เร็ว ค่ายิ่งมาก เช่น 8ms ก็จะเปลี่ยนภาพได้ช้า ค่านี้ไม่มีผลต่อการปรับแต่งภาพนักเพราะในการแต่งภาพ เราแสดงภาพนิ่ง แต่จะมีผลต่อท่านผู้อ่าน ที่อยากซื้อจอคอมมาใช้ดูหนังหรือเล่นเกมส์ หากจอไหนที่มีค่า Response time จะเกิดอาการเห็นภาพวิ่งเป็นเงาตามหลังวัตถุ เมื่อภาพเคลื่อนไหวเร็วๆ
3. Brightness ความสว่าง ปัจจุบันจอLCD สามารถทำกันได้ ที่ ใกล้เคียง 200-300 cd/m2 ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งาน หากห้องที่เราทำงานไม่สว่างมาก ก็ไม่จำเป็นต้องมีค่านี้ สูงๆ ครับ จอที่เราใช้งาน อาจจะต้องลดความสว่างลงในการใช้งานจริงเพื่อไม่ให้แสบตาด้วยซ้ำ หลังจาก ปรับแต่งสีจอ ด้วยตัว คาริเบตแล้ว ความสว่างที่ผมใช้งานจริงอยู่แค่ที่ 100 cd/m2 เท่านั้นครับ
4. Viewing Angle มุมมองการแสดงผล จะบอกค่าเป็นองศา เช่น 160° vertical / 170° horizontal เป็นค่าที่บอกว่าเมื่อเรามองจาก มุมเฉียงมาทีจอ จะเห็นภาพได้ดี ที่มุมกว้างแค่ไหน โดยจะบอกเป็น มุมแนวตั้ง กับ มุมแนวนอน หากใครมีโน๊คบุ๊ค จะพบว่า นี่เป็นปัญหาใหญ่ ในการปรับสีภาพ เมื่อเราขยับจอไปมา สีจะเพี้ยนเนื่องจากจอโน๊ตบุุ๊ค โดยเฉพาะสมัยเก่าจะมีมุมมองการแสดงผลแคบมากโดยเฉพาะทางตั้ง
5. Matte or Glossy Screens จอด้าน หรือ จอแก้ว เป็นอีกจุดที่มีผลต่อการทำงานและความรู้สึกของผู้ใช้ครับ เนื่องจากจอแก้ว ผิวมัน นั้นให้ความรู้สึกหรูหราเป็นของดี แต่ในการใช้งานจริง จอแก้วจะสะท้อนแสงจนในบางสถานการณ์ เราจะแทบไม่สามารถมองเห็นภาพที่จะปรับแต่งได้ โดยเฉพาะท่านที่โต๊ะคอมพิวเตอร์หันหลังให้กับหน้าต่าง หรือหน้าร้าน ที่ภายนอกสว่างมาก ส่วนตัวผมแนะนำให้เลือกซื้อจอแบบด้าน เพราะทำงานแล้วสบายตากว่ามากครับ ประสิทธิภาพในการแสดงผล
ของจอทั้งสองแบบนั้น ไม่ต่างกัน จุดที่ต่างกันจริงๆเป็นแค่ความรู้สึกของผู้ใช้
6. จอ LCD หรือ LED เสป็คจุดนี้ ในความจริงไม่ได้ส่งผลให้จอแสดงประสิทธิภาพโดยรวมต่างกันมากนักครับเพราะเป็นเพียงการบอกว่า แหล่งแสงที่ส่องออมาด้านหลังจอ ใช้หลอดไฟแบบไหน สิ่งที่ส่งผลจากการเป็น LCD หรือ LED ที่เห็นชัดเจนคือ
จอ LED จะบางกว่ามาก และมีน้ำหนักน้อยกว่ามากครับ
7. Color gamut ความสดของสี หรือ ความกว้างของพื้นที่สี ที่จอแสดงได้ จอปัจจุบันจะแสดงสีได้ เท่ากับ หรือใกล้เคียง มาตรฐาน sRGB โดย อาจจะมีจอบางรุ่นที่เก่าหน่อย หรือ จอโน๊ตบุ๊ค ที่แสดงสีได้แคบกว่า sRGB ขณะที่จอที่มีประสิทธิภาพสูง แสดงผลได้กว้างกว่า sRGB โดยค่าส่วนนี้ หากไม่ได้บอกไว้ ให้คาดไว้เสมอว่า จอนั้น จะแสดงสีได้ ใกล้เคียง หรือ แคบกว่า sRGB ขณะที่จอที่ออกแบบเพื่อการทำงานกราฟฟิค หลายรุ่นจะบอกว่า สามารถแสดงสีได้เป็นกี่ % ของมาตรฐาน sRGB
หรือ Adobe RGB หรืออาจะบอกเป็นมาตรฐานอื่น เช่้นจอ Dell Ultrasharp U2713HM เขียนเสป็คไว้ว่า “Color Gamut (typical): sRGB >99% , 82% (CIE 1976)” เป็นต้น
( จอโน๊ตบุ๊คส่วนใหญ่ เป็นจอที่ไม่เหมาะกับการปรับสีภาพเพราะแสดงพื้นที่สีได้เพียงประมาณ 70-80% ของ sRGB )
อ่านต่อ ตอนที่2