ห้าปีก่อน ตอนเราใช้กล้อง 3MPixel ตัวล่าสุด และบอกว่านี่ละสุดยอดความละเอียด
ใครจะไปคิด ว่า วันหนึ่ง เราจะได้เห็นกล้อง ที่มีความละิเอียดสูงมากถึง 24 MPixel ซึ่ง
ประมาณการว่า ละเอียดกว่า ฟิล์ม 135 ที่ iso 100 ที่หลายๆคนใช้กันมาตลอดชีวิต
–
ห้าปีก่อน ตอนเราซื้อ HDD 80GB ตัวล่าสุด และใช้ SD ขนาด 256MB ที่เก็บรูปได้มากกว่า 200
รูป แล้วพร่ำบ่นว่า “แม่งจะไปใ้ช้หมดได้ยังไงฟ่ะ” ใครจะไปคิดว่า ผู้คนตามบ้าน ทั่วๆไป จะมี
ความต้องการ พื้นที่เก็บข้อมูลในระดับ TB (1000 GB)
–
ห้าปีก่อน ผมใช้กล้อง 300D ใช้ CF card ขนาด 128MB 2 ตัว ถ่ายรูปให้เต็มได้ เป็นเรื่องใหญ่
ยิ่ง HDD ขนาด 40 GB ที่บ้าน ก็รู้สึกว่า “เหลือเฟือ”
–
หนึ่งปีก่อน ผมได้ของขวัญวันเกิดเป็น HDD ขนาด 500GB และคิดว่า “มันจะเต็มได้ยังไงฟ่ะ”
ผ่านไป 1ปี กับ 4 เดือน วันนี้ ผมต้องตัดใจ ถอย HDD ขนาด 500GB อีกตัว เป็น รวมเป็น 1TB
เพราะตัวเก่า “ไม่พอเก็บไฟล์รูป” ทั้งที่หลายงาน ผม ลบRAW ทิ้ง เก็บแต่ JPG แล้ว
–
ตอนนี้ผม copy ไฟล์รูปทั้งหมด ที่ถ่ายมาตลอดปี 2007 -2008 เครื่องขึ้นเวลานับถอยหลังมาว่า
250 นาที กว่า จะ copy เสร็จ และเริ่มรู้สึกว่า “นี่มันชักจะเลอะเทอะไปกันใหญ่แล้วววววว”
–
โม้มาซ่ะยาว สรุปว่า ไอ้ 250นาที ที่ต้องนั่งรอมัน copy มัน นานมากจนปิ๊งไอเดีย
วันนี้ เลยเขียนบทความเรื่อง “ความละเอียดภาพ” ซึ่งปกติ ผมจะสอนเป็นพื้นฐานในคอร์สไล
ท์รูม และ Photoshop เพื่อให้ทุกท่านได้อ่านจะได้เกิดความเข้าใจว่า แค่ไหน “พอเพียง”
สำหรับ ระดับการใช้งานทั่วๆไป เวลาเก็บไฟล์ ภาพจะได้ “ประหยัดพื้นที่ HDD” ไม่ต้องมานั่ง
เก็บความละเอียดสุดโต่งแบบผมที่ประกอบเป็นอาชีพ
–
ความละเอียดภาพ สัมพันธ์โดยตรงกับ จำนวน pixels x pixels ของภาพ ที่หลายโปรแกรมเรียกง่ายๆว่า image size
กับ หน่วยที่ชวนมึน ที่เรียกว่า Dpi หรือ Dot per inch (จุด ต่อ นิ้ว) ซึ่งเป็นจุดที่ชวนให้คน ที่ขาดความรู้ “สับสน”
และนำไปใช้กันอย่าง “ผิดๆ”
–
โดยพื้นฐาน การที่จะบอกว่า ไฟล์ภาพนั้นละเอียดแค่ไหน ให้มองที่ขนาด pixel จริงๆที่ภาพ
นั้นมี แล้วลืมเรื่อง Dpi ไปก่อนน (โอมมม จง ลืมมมมมมม)
เช่น ภาพ ขนาด 200 x 300 pixels ย่อมมีความละเอียดน้อยกว่า ภาพ 2,000 x 3,000 pixels
ไงละ ง่ายโคตรๆ
–
หน่วยของกล้อง ที่ขายๆ กัน ที่บอกเป็นหน่วย วัดพลังเหมือนตัววัดพลังของ ดราก้อนบอล
แบบว่า ใครเบ่งพลังได้มากกว่า ก็ต่อยชนะ ก็ มีที่มาง่ายๆ คือ ภาพขนาดโดยประมาณของ ภาพจาก กล้อง 300D
คือ 2000 x 3000 pixels
เท่ากับว่า มีจุดในภาพอยู่ ทั้งหมด 2,000×3,000 = 6,000,000 pixels หรือ 6Mpixels ( 6
เมกกะพิกเซล) นั่นเอง
–
ภาพจากกล้อง 5D มีความละเอียด 12 Mpixels มีขนาดภาพจริง 2912 x 4368 pixels
–
ซึ่งจะเห็นว่า ถ้าเอาขนาด pixel จริงๆ มาวางทาบกัน ระหว่าง 300D กับ 5D แม้ ตัวเลขจำนวน
pixel จะเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่ ขนาดจริงๆ ไม่ได้ใหญ่ขึ้น 200% แบบที่ ตัวเลขโฆษณาแสดง
ไม่ใช่ว่า เดิมอัดภาพได้ 4×6 นิ้ว แล้วพอ จำนวน MPixel เพิ่มสองเท่า จะอัดภาพได้ 8×12 นิ้ว
เพราะฉะนั้น ให้จำตรงไปตรงมา ว่า ให้ดูที่ image size (ขนาด กว้าง x ยาว ของ Pixel) เป็นหลัก “ไม่ต้อง
สนใจ จำนวน Mpixel มากนัก เพราะเป็นหน่วยที่ทำให้เราสับสนได้ง่าย แถมเป็นค่า ที่ไม่มีประโยชน์ในแง่ที่เรา
จะเอาไป print งานคุณภาพดีๆ ออกมาติดฝาบ้าน แต่อย่างใด
–
สิ่งที่ค่า Mpixel หรือจำนวนจุด จะแสดงให้เราเห็นได้ คือ การแบบแปรผันตรง กับ “ขนาด
ไฟล์ที่ใหญ่ขึ้น” แบบมีนัยยะสำคัญ (เชสสสส ภาษา หุ้นนน ดูหรูสาดด)
บอกกันง่ายๆ คือ ถ้าถ่ายภาพ มุมเดียวกัน เดะๆ Raw ไฟล์ที่ได้ จะใหญ่ขึ้น
ตาม Mpixel ที่ต่างกัน เช่น 5D มีจำนวนจุด มากกว่า 300D 2เท่า
ไฟล์ ก็ใหญ่ ขึ้น 2เท่า โดยประมาณ
ซึ่ง ส่งผลให้ HDD เรา เต็มเร็วขึ้น 2เท่า เช่นกันนนนนน
–
ทีนี้ ขนาดภาพ ที่ใหญ่ขึ้น ถึงจะใหญ่ ไม่ได้เป็น 2เท่า จากขนาด กว้าง x ยาว ก็มีประโยชน์แน่นอน แต่ “มีประโยชน์ ต่อเรา มากแค่ไหน” ต่างหาเป็นจุดสำคัญ ที่เราควรจะใส่ใจ เพราะถึงจะมีประโยชน์ กับคนอื่น แต่ “เราไม่เคยใช้” ก็ไลฟ์บอย
–
แล้วจะรู้ได้ไงว่า มีประโยชน์แค่ไหน แค่ไหนดี แค่ไหนเีพียงพอ