วันนี้จะมาบอกเล่าวิธีการทำภาพ HDR จากที่เคยได้อธิบายว่า HDR คืออะไรไปแล้วในบทความก่อน
อ่านไม่เข้าใจสามารถสอบถามได้ครับ
อุปกรณ์
-ขาตั้งกล้อง
-สายลั่นชัตเตอร์
การถ่ายภาพเพื่อ เตรียมทำ HDR
1. เริ่มต้นการทำ HDR ส่วนมากเราจะมองภาพที่ อยากให้เห็นรายละเอียด ที่ครอบคลุม? Dynamic Range ที่สูงขึ้น เช่นภาพตัวอย่าง
ไปถ่ายภาพวัด วันที่ท้องฟ้าแจ่มใส แต่ ปรากฎว่า มุมที่สวยดันย้อนแสง ถ้าถ่ายอาคารพอดี เมฆจะหาย การปรับภาพก็ยังอาจจะยังไม่ช่วยมาก ตรงนี้เองที่การถ่ายภาพเพื่อทำ HDR จะช่วยได้
2. โหมด manual? วัดแสง เพื่อให้ได้สปีดที่ EV 0 และ เปิดหน้ากล้องแคบพอที่จะครอบคลุม Depth of field ตั้งแต่ Foegound
จนถึง infinity คิดไม่ออก ให้เปิด แคบกว่า f/11 ไว้ก่อน
3. จากนั้นวัดแสงส่วนที่สว่าง และส่วนที่มืด เพื่อดูว่าเราควรจะถ่ายภาพ ครอบคลุม กี่ stop เพื่อเก็บรายละเอียดจากส่วนมืดถึงสว่าง ที่เราต้องการ ค่า พีคสุด จะ +/- 4 stops เราอาจจะถ่ายภาพทั้งหมด ประมาณ 7 – 8ภาพ ชดเชยแสงภาพละ 1stop
แบบเร็วๆ จะถ่ายประมาณ 3 ภาพ? +/-? 2stops
4.ตรงนี้ เอง ถ้าเราคิด สปีด x2 ได้ 1 stop คล่อง จะดีมาก เพราะหาก เราถ่ายทุกภาพให้ stop ห่างเท่าๆกัน โปรแกรม photomatix จะประมวลผลได้ง่าย? เช่น วัดแสง EV0 ได้ speed 1/100s ก็จะได้ว่า ต้องถ่ายที่ 1/13s 1/25s 1/50s 1/100s 1/200s 1/400s 1/800s ตามลำดับ ความเข้าใจส่วนนี้เราสามารถนำไปใช้กับกล้องทุกตัว ได้
การถ่ายภาพแบบนี้ ต้องใช้การปรับ ค่า Speed เท่านั้น เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลง ของ ระยะชัดลึก
ปัจจุบันในกล้อง DSLR ส่วนใหญ่ จะมีฟังก์ชั่นชื่อ Auto Exposure Bracketing (AEB)
ที่เราสามารถ ถ่ายภาพต่อเนื่อง 3ภาพ (สำหรับกล้องรุ่นเล็ก) หรือ เลือก ถ่าย 3 5 หรือ 7 ภาพ สำหรับกล้องรุ่นโปร? ซึ่งปกติ จะใช้ถ่ายภาพเผื่อไม่มั่นใจในการวดัแสง โดย ถ่ายต่อเนื่องกัน โดยเปลี่ยนค่า ชดเชยแสง ตามที่เซ็ตไว้ใน เมนู AEB
เช่นภาพตัวอย่าง กล้องจะถ่ายภาพ สามภาพ โดย +1 , 0 และ -1 stop สังเกตจาก ตัวบอกค่า EV ว่า มี 3ตัว
5. ตั้งขาตั้งกล้อง เลือกมุม? โฟกัสไปที่ วัตถุหลักในภาพ จากนั้น เซ็ตเป็น manual focus
เพื่อป้องกันไม่ให้ กล้องทำการโฟกัสใหม่เมื่อกดชัตเตอร์ จากนั้นทำการถ่ายภาพ ด้วยสายลั่นชัตเตอร์
โดยปรับสปีด ตามที่ได้ วางแผนไว้ ในข้อก่อนหน้า
กรณีใช้ AEB? ให้ เลือก โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง เพื่อให้เราสามารถกดชัตเตอร์ค้างไว้ จน
กล้องถ่ายภาพสามภาพต่อเนื่องเสร็จ
——————————————–
การ ทำ HDR ด้วยโปรแกรม Photomatix 3
1.นำภาพที่ได้จาก การถ่ายภาพที่ผ่านมา rename เรียงชื่อไว้ จาก มืดสุดถึงสว่างสุด
2.เปิดโปรแกรม Photomatix 3 คลิ๊กที่ Generate HDR image เลือกไฟล์ ที่ได้เรียงชื่อตามลำดับ exprosure ไว้แล้ว
–
3.เลือก Align source images กับ Attempt to reduce ghosting artifacts ตามความเหมาะสม
–
4.โปรแกรม จะ คำนวนภาพ HDR ขึ้นมา แต่ภาพดังกล่าวยังดูไม่เป็นธรรมชาติ เนื่องจาก จอแสดงผล dynamic range ที่กว้างมากไม่ได้ เลยตัดทิ้งซ่ะดื้อๆ
–
5.ให้กด tone mapping จะปรากฎหน้าต่างใหม่ ให้เลือกปรับ Details Enhancer
ลองปรับค่าต่างๆ จนได้ภาพตามต้องการ เช่นปรับให้ดูผิดเพี้ยน แสงสีแรงๆ หรือ ดูเป็นธรรมชาติ
กด Process
–
6. Process เสร็จ ให้กด file >> save as เลือก save เป็น jpg หรือ tiff ตามสะดวก
–
7. ตามปกติ ข้อจำกัดสำคัญของการถ่ายภาพ HDR คือ การที่ ถ่ายภาพ ที่นำมาทำ HDR ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน
การถ่ายอะไรที่เคลื่อนไหวเร็วๆ เช่นถ่ายก้อนเมฆ หรือใบไม้ วันที่ลมแรง หรือ สนามฟุตบอลที่มีคนวิ่งไปมา
จะทำให้โปรแกรมไม่สามารถซ้อนภาพได้ถูกต้อง
หากมีเล็กน้อย ให้เปิดโปรแกรมตบแต่งภาพ ลบแก้ไขภาพในส่วนที่ ผิดเพี้ยนจากการที่ภาพมีความเปลี่ยนแปลงเกินกว่าโปรแกรมจะแก้ไขได้ เป็นอันเสร็จพิธี
ภาพ HDR ที่เสร็จสมบูรณ์
สวัสดี
ปล. ภาพนี้ใช้น้อง kitty ถ่ายครับ จะพยายามพกน้องkitty ไปถ่ายรูปให้เยอะขึ้น
เด๋วจะหาว่าผมโม้ 🙂