How to Buy LCD

e248wfp_overview1
เนื่องจากช่วงนี้ กำลังบ้าเห่อ หลังจากได้มีเวลาลองใช้งาน? Spyder 2 pro
แบบจริงจัง ค่อยๆปรับแบบ ละเอียดละออ ซึ่งเดิมผมปรับแค่ “สี” ตรง
พอปรับแบบละเอียด ทำให้ต้องปรับ “ความสว่าง” ให้ได้ตามเป้าหมาย
โดยอ้างอิงจากสภาพแวดล้อมที่ทำงานอยู่

ผลคือ เจ้าจอ CRT (จอป่อง) ที่ ใช้งานอยู่ โดนรายงานว่า “ความสว่างไม่พอ”
ถ้าอยากให้ความสว่างถูกต้องให้ลดความสว่างภายในห้องลง
ซึ่งจริงๆ ความสว่างในห้องทำงานผม มีเพียงหลอด ฟูออเรสเซนส์ สั้น 18 W อยู่หลอดเดียว
ผมเลยมีแค่สองทางเลือก ว่าจะปิดไฟทำงาน
หรือ ซื้อจอใหม่

เป็นใคร ก็ซื้อจอใหม่ !! ปิดไฟทำงานเดี๋ยวหยิบผิดหยิบถูก ไฟดูดตายห่า

หลังจากนั้น ก็เลยหาข้อมูลต่างๆนาๆ มากมาย อ่านเกี่ยวกับจอมันทุกวัน
จนเมื่อเช้าส่องกระจก พบว่า หน้าผมกลายเป็นสี่เหลี่ยมไปเรียบร้อย
เท่านั้นยังไม่พอ ผมยังค้นพบว่า “จ๊ากกกๆๆ ไม่มีเงินจะซื้อจอดีดี”
เลย เอาความรู้ที่ได้มาเขียนบทความแก้กลุ้ม 55
กว่าจะเข้าเนื้อหาได้ หมดไปสองย่อหน้าละ 😛

จอ LCD มี สิ่งที่ต้องสนใจเลือกแตกต่างกันมากมายหลายค่า
เช่น ค่า Contrast ที่มีทั้งแบบ Static contrast , Dynamic contrast
ค่า Response times คือความเร็วในการเปลี่ยนสีจากสีหนึ่งไปอีกสีหนึ่ง
ที่ปัจจุบัน จะอยู่ที่ grey-to-grey (G2G)? 2 – 5ms
ค่ายิ่งน้อย ยิ่งทำให้ภาพเคลือนไหวนิ่มนวล
ซึ่งเหมาะสำหรับการ ดูหนัง หรือ เล่นเกมส์ (โดยเฉพาะเกมส์ 3D หมุนเร็วๆ ชวนปวดหัว)

แต่ ท้ายสุดของสุดท้าย ก็พบว่า จริงๆ ค่าพวกนั้น “ไม่ช่วยอธิบายอะไรมาก”
เนื่องจากด้วยเทคนิคในการจูงใจให้ซื้อ กับวิธีการบอกค่า แบบเลือกใช้หน่วยเข้าข้างตัวเอง
ของจอแต่ละยี่ห้อ ทำให้เป็นการยากที่จะเลือกซื้อจอได้ถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะกับ
“การทำงานกราฟฟิค และ งานแต่งภาพถ่าย”
เพราะเทคโนโลยีที่พัฒนา แข่งขันกันโดยทั่วๆไปนั้น เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับ
ภาพเคลื่อนไหว? มากกว่า “การจัดการภาพนิ่ง”
เรียกได้ว่า ทำเพื่อ เอนเตอร์เทน ไม่ได้ทำเพื่อทำงาน

สิ่งเดียวที่สามารถดูได้ ชัดคือ ชนิดของ Panel ที่จอนั้นๆใช้อยู่
ซึ่งแทบจะเป็นตัวบอก รายละเอียดอื่นๆทั้งหมด

Panel ของ จอ LCD ที่พบในตลาด แบ่งได้หลักๆ
4พวก คือ

1.TN film
2. IPS / S-IPS
3. MVA / S-MVA / P-MVA / A-MVA
4. PVA / S-PVA

ตัว S ใน ข้อ 2 3 4 มาจากคำว่า Super เรียกง่ายๆว่า S-IPS เป็นเวอร์ชั่นพัฒนาแล้วของ IPS
ซึ่งปัจจุบันเท่าที่ดู ก็จะเป็น ตัว S กันหมดแล้ว อื่นๆที่จะพบก็เป็น การเปลี่ยนตัวอักษรด้านหน้า
เช่น P-MVA / A-MVA ก็พัฒนาแตกสายกันไป

ซึ่งเนื้อหาแต่ละ Panal มีหลากหลายมากมาย อ่านแล้วชวนปวดหัว
สรุปข้อดีข้อเสีย ให้เลยน่าจะเป็นประโยชน์กว่า

1.TN film

– มุมมองแคบ โดยเฉพาะมุมจากด้านบนด้านล่าง ขยับนิดเป็นเพี้ยน
-แสดงสีที่ 6bit / channel color ซึ่งปกติ ค่า RGB เป็น 8Bit
ผลคือ มันแสดงสีได้ แคบกว่า สี RGB ปกติ คือห่วยกว่า CRT(จอป่อง) นั่นเอง
เวอร์ชั่นหลังๆ ใช้เทคนิคแก้ปัญหาจากสีของ Backlight จนได้สี RGB
หรือใช้วิธี กระพริบสองสีผสมกันเพื่อให้ดูเหมือนไล่สีได้ดีขึ้น
แต่ ก็ยังสังเกตุเห็นการกระพริบได้
-Contrast ต่ำ ต้องใช้วิธี หรี่แสง Backlight เข้าช่วย

-ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย
– Response times ต่ำมาก แสดงภาพเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่อง

*** สรุป จอส่วนใหญ่ในตลาด เป็น TN เหมาะกับการใช้งานทั่วไป
ดูหนังฟังเพลง พิมพ์เอกสาร ถ้าจะใช้แต่งภาพต้องเลือกดีดี มีแค่บางรุ่น
ที่พัฒนาจนสามารถแสดงผลได้เกือบเท่า RGB (เช่นบางรุ่นของ Sumsung)
โน๊ตบุ๊คทั่วไปไม่ต้องกลัว ได้จอ TN แน่นอน

2. S-IPS

– มุมมองกว้าง
– แสดงสีที่ 8Bit แสดงสีได้กว้างมาก !
– แสดง contrast ได้ต่ำว่า CRT(จอป่อง) แต่ดีกว่า TN
( Apple Cinema Displays ทำ Contrast ได้ 1:700)
– Respones Times แย่
( Apple Cinema Displays ทำ ได้ 8ms)

*** สรุป พบในจอขนาดใหญ่ 20″ ขึ้นไป
(ตัวอย่างจอคือ Apple Cinema Displays ที่แสนแพง)
แสดงผลของสีได้ดีมากเหมาะกับการตบแต่งภาพ ไม่เหมาะจะใช้ดูหนัง สำหรับพวกหูทอง
ตาทอง เพราะมีโอกาสเกิด “เงา” ไล่หลังได้ง่าย ปัญหาใหญ่สุดคือ “ราคาแพง”
โรงงานผลิตหลักๆเป็นของ LG.Philips ลองรื้ออจอ Mac ดูจะแปะยี่ห้อ LG

3. MVA

เป็นลูกผสมของ IPS กับ TN
ผลคือ ตอนนี้กลายเป็นหนึ่งใน จอราคาถูกที่ให้ระดับการแสดงผลในทุกๆด้านดี
– Respones Times เร็วไม่เท่า TN แต่เร็วกว่า IPS
– Gamut สีกว้างไม่เท่า? IPS แต่ กว้างกว่า TN (ใกล้เคียง RGB)
ราคาก็อยู่ตรงกลาง
อีกหน่อยอาจจะได้เห็นจอ Panel นี้มากขึ้น
ถ้านิยม น่าจะเหมาะกับคนที่ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก เพราะ ราคาไม่แพง
และคุณภาพไม่ได้สูงเกินความจำเป็น
ปัญหาคือ “ยังไม่นิยม” หาซื้อลำบาก
เวอร์ชั่นแตกไลน์ ชื่อ S-MVA / P-MVA / A-MVA

4. S-PVA / PVA

เป็นเวอร์ชั่น พัฒนาแล้วของ MVA คือเอาข้อดี ของ IPS กับ TN? มาผสมกัน
แต่ ทุกอย่างดีหมด โดยเฉพาะ S-PVA
Contrast สูง
Respones Times เร็ว

มีเพียงแต่การแสดงความกว้าง ของสี ( Gamut )ที่สู้ S-IPS ไม่ได้
ซึ่งตามปกติ จะราคาถูกกว่า S-IPS ทำให้ระดับสุดโต่งหลายคน ยังเลือก S-IPS มากกว่า

ยกเว้นบางจอ เช่น ยี่ห้อ Eizo แสดงสีได้กว้างกว่า Adobe RGB โดยใช้ การแสดงสี 16bit ต่อสี? ด้านหลัง ใช้ backlight 3สี ช่วยเพิ่ม Gamut อีก1 ดอก
ราคาไม่ต้องพูดถึง “แพงสุดๆ”
————————————————————-

อ่านดังนี้แล้ว ใครใช้จอไหน อาจจะตัดสินใจลำบาก

เพราะราคาของจอที่ “แสดงสีได้ดี” กับ จอที่ “แสดงสีได้ห่วย” มันต่างกัน เกือบ 2เท่า

เหมือนว่าจะมีแค่ 2ทางเลือก คือ TN และ อื่นๆ แนวโน้มอีกหน่อยเชื่อว่า

ราคา Panel อื่น ยังไงก็น่าจะถูกลงจนหยิบจับได้

เพราะเรื่อง Panel เริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้น ตามเว็บบอร์ด ทั้งที่เกี่ยวกับ

โฮมเธียเตอร์ และ การถ่ายภาพ

ใครคิดจะซื้อจอ LCD หวังว่าจะได้จอถูกใจ

ส่วนตอนนี้ผมขอไปปิดไฟทำรูปหาเงินกับน้อง CRT จอป่องไปก่อน

เก็บตังค์ได้เมื่อไหร่ จะไปถอย S-PVA หรือ S-IPS มั่ง

—————————————————————————-
ปล. จอ S-IPS กับ จอ S-PVA ที่เห็นในไทย

มี Dell ,Eizo และ Apple อยู่แค่3ยี่ห้อ ใครจะซื้อคงต้องทำใจเรื่องราคา

ยี่ห้ออื่นๆ เช็คๆดูมีแต่ TN หมด

รายการจอที่ใช้ S-IPS
http://www.pchardwarehelp.com/guides/s-ips-lcd-list.php

แสดง Gamut ของจอบางรุ่น ใน ThaiD

http://www.thaidphoto.com/forums/showthread.php?t=99759&pp=100

รายละเอียดเกี่ยวกับจอ เป็นภาษาอังกฤษ ข้อมูลบางอย่างขัดแย้งกันบ้าง

http://www.pchardwarehelp.com/guides/lcd-panel-types.php

http://en.wikipedia.org/wiki/S-PVA#PVA