ประโยชน์ของ Histogram กับ จอLCD หลังกล้อง

ผมเป็นคนหนึ่งที่ สมัยซื้อกล้อง 300D มาใช้ใหม่ๆ (เปลี่ยนจาก Fuji F400 ตัวเล็กจิ๋ว)
แทบร้องไห้ เพราะ ใช้จอ LCD ถ่ายรูปไม่ได้ และรู้สึกไม่เข้าใจ
แถมไปโกรธ บริษัทแคนนอนว่า “เรื่องแค่นี้ทำไมทำไม่ได้ว่ะ”
ทำไมต้องมานั่งมองช่องมองภาพเล็กๆ ด้วย

แต่ยิ่งถ่ายรูปมามากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเข้าใจว่าทำไม
จนถึงกับไม่ค่อยจะเห็นความสำคัญของ Live view ที่ฮิตนักฮิตหนาสมัยนี้ ( แต่ถ้ามีให้ใช้ ก็เอา )

ปัญหา 2 อย่างของจอ LCD หลังกล้อง ซึ่งเหมือนกับจอ LCD ทั่วไป อย่างเช่นมือถือ
คือ
1. ความสว่างไม่มากพอ จะสู้กับแสงอาทิตย์ ทำให้หลายครั้งที่เราออกไปถ่ายภาพกลางแจ้ง
แล้ว มอง LCD จะไม่รู้เลยว่า รูปที่ออกมาเป็นอย่างไร

2.ความละเอียด แค่ไม่กี่ร้อย pixel เทียบกับภาพขนาด 3000 pixel บนกล้อง 10Mpixel ยิ่งแย่
เพราะ การดูภาพที่ขนาดเต็มจอ ไม่ได้ช่วยให้เรารู้ได้เลยว่า “รูปออกมาคมชัด” หรือไม่

จะเห็นว่ารูป บนโฟกัสถูกต้อง กับรูปล่างหลุดโฟกัสไปนิดหน่อย เมื่อย่อรูปดูเป็นขนาดเล็กใกล้เคียงกับความละเอียดของจอ LCD จะเห็นว่า? “แทบไม่มีความแตกต่าง” กันเลย ยิ่งไปเจอสภาพแสงจ๊ามากๆยิ่งดูไม่ออก

ตรง นี้เองเป็นจุดแข็งของ View finder แบบเก่าๆ ที่ใช้กระจกสะท้อนภาพ และปริซึม ที่เหนือกว่า Live view เนื่องจากความสามารถในการเช็คความคมชัดที่สูงกว่ามาก ( หากเคยลองถ่าย macro จะรู้ ว่ามันทำได้เนี๊ยบแค่ไหน ) แถมเรายังสามารถ มองภาพเพื่อจัดองค์ประกอบได้ในทุกสภาพแสง

ฟังก์ชั่น ของ LCD ที่ควรจะ “คิดไว้เสมอ” คือช่วยให้เรา “เห็นรูปคร่าวๆ” ทันที่ที่ถ่ายเสร็จ ไม่ใช่ เห็นรูปสุดท้าย
(เหมือนช่างภาพสตูดิโอใช้ back โพราลอยด์ เพื่อเช็คสภาพแสง ก่อนถ่ายฟิล์มจริง)

ทีนี้ สิ่งที่ช่วยให้เรา “เช็คภาพ” ได้แม่นยำมากขึ้น หลังจากถ่ายเสร็จอันหนึ่งคือ

ให้ ซูมภาพเข้าไปดูส่วนที่ควรจะชัด ว่า คมชัดดีไหม เพื่อจะได้ถ่ายใหม่ได้ ทันท่วงที หากมีความผิดพลาด
อีกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ใช้จอ LCD ได้มีประสิทธิภาพ คือ การดู Histogram

ตามปกติ Histogram ด้านขวาจะหมายถึง ส่วนที่สว่าง ด้านซ้าย คือส่วนที่มืด
ถ้าภาพค่อนข้างมีส่วนที่เป็นสีดำมาก กราฟด้านขวาจะสูง กราฟด้านซ้ายจะเตี้ย
ถ้ามีปริมาณสี ขาวมาก กราฟด้านขวาจะสูง
ย่านโทนไหนที่ไม่มีปรากฎในภาพเลย จะแบนราบ

ตัวอย่าง histogram 3 แบบ กับภาพที่ต่างกัน

หากกลับไปดูภาพด้านบน จะเห็นว่า เราเห็นภาพส่วนท้องฟ้าเป็นสี “ขาว” ไปแล้ว ซึ่งอาจเกิดเพราะปรับจอ LCD สว่างเกินไป
แต่เมื่อดู Histogram ก็พบว่า ท้องฟ้าไม่ได้เป็นสีขาว เพราะ Histogram ด้านขวาสุดไม่มี
ประโยชน์ อีกส่วนที่สำคัญคือ ช่วยให้เรา “นึกภาพการปรับแก้” ในภายหลังออกได้ เช่น
ภาพ มิกกี้ และ มินนี่ จะเห็นว่า มีส่วนสีขาว และ สีดำ มาก ทำให้เรารู้ได้ว่า ส่วนท้องฟ้า และ เสื้อผ้า กลายเป็นดำแท้ ขาวแท้ ซ่ะส่วนใหญ่ เราจะไม่สามารถปรับแก้ภาพนี้ได้ หากต้องการให้เห็นเมฆบนท้องฟ้า หรือ เห็นรายละเอียดของเสื้อผ้า
กรณีแบบนี้ที่ชัดเจนในการถ่ายภาพจริงคือ การถ่ายรับปริญญาที่ชุดครุยที่เป็นสีดำ

หรืออีกกรณี เราสามารถเช็คได้ว่า ขนสีขาวของโดนัล กับถุงมือ สว่างเกินไปหรือไม่
เมื่อ ดู Histogram ก็จะเห็นว่า ส่วนที่เป็นสีขาวแท้ แทบจะไม่มี ทำให้คาดเดาได้ว่า ขนสีขาว และถุงมือส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงที่ ค่อนข้างสว่าง แต่ไม่ได้ขาวจนไม่เหลือเนื้อ ยังสามารถแก้ไขให้เห็นขนชัดเจนขึ้นเมื่อ Process ได้

หรือกรณีภาพสุดท้าย สมมุติว่า แสงน้อย หากถ่ายที่วัดแสงได้พอดี สปีดจะต่ำกว่า 1/60 ซึ่งถือด้วยมือไม่ได้
เราจึงทำใจถ่ายunder มา 1stop เพื่อให้สปีดได้ 1/60 เราเห็นภาพชัดเจนว่า ถ่าย under
แต่ก็ถือว่าเป็นภาพที่ยอมรับได้ เนื่องจาก histogram ส่วนใหญ่อยู่โทนสีเทา
และไม่ได้มืดเกินไป จนมีปัญหาเรื่อง Noise เมื่อปรับแก้ให้สว่างขึ้น

จะเห็นได้ว่า Histogram ไม่ใช่ ฟังก์ชั่นที่บอกว่า
ปูดตรงกลางเป็นรูประฆังคว่ำแล้วสวย เบ้ซ้ายคือมืดไป เบ้ขวาคือสว่างเกินไป
ตามทีหนังสือหลายเล่มบอก

รูปทรงของ Histogram เป็นแค่ กราฟฟิค ที่สะท้อนให้เราเข้าใจได้ง่ายถึงคาแร๊คเตอร์ของภาพแบบต่างๆ
เช่น หากเราถ่าย Silhouette (ภาพเงาดำ) Histogram ย่อมแสดงออกมาว่ามีน้ำหนักอยู่สองช่วงใหญ่ๆ คือช่วงเทากลางเกือบขาว ในส่วนฉากหลังและ
และช่วงที่เป็น “สีดำแท้” ปริมาณมาก เป็นต้น

มื่อรู้ข้อจำกัด ของ LCD แล้ว อาจจะทำให้หลายท่าน เลิกสนใจไปเลยว่า
“จอ LCD กล้องผม ไม่ตรงกับจอที่บ้านครับ”
“จอหลังกล้องติดเหลืองครับ”
หรือ
“จอ นิคอน ความละเอียดสูงกว่า แคนนอน”
ตามที่เราได้อ่านซ้ำๆกันหลายครั้งตามเว็บถามตอบปัญหากล้อง

ภาพหลายภาพที่ดูแล้วห่วยบนจอLCD หาก ถ่ายโดยคนที่ “เข้าใจ” ภาพสุดท้ายอาจจะกลายเป็นภาพสวยจับใจ ได้
ระลึก ไว้เสมอว่า เมื่อก่อนคนถ่ายกล้องฟิล์ม ไม่สามารถตรวจเช็คอะไรได้เลย
จนกว่าฟิล์มจะล้างออกมาเสร็จ (แถมต้องดูเนกาตีฟ แล้วคาดเดาเอา) ยังมีคนที่ถ่ายรูปสวยได้
เราในวันนี้ มีทั้งจอ LCD ที่ซูมได้ เช็คความคมชัดได้ แถมมี histogram ช่วย บอกค่าความมืด สว่าง ของภาพ ซึ่งหมายถึง
โอกาสที่เราจะได้”ภาพเด็ด” หรือ “แก้ไข” ภาพที่หากผ่านไปไม่อาจกลับมาถ่ายได้อีกครั้ง
เราจึงมี”โอกาส” มากมายกว่า คนสมัยก่อนมหาศาล

อนาคต ความสามารถและความละเอียดของจอยุคใหม่ แน่นอนว่าจะสามารถแทนที่ วิวไฟเดอร์ได้ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง
แต่วันนี้ เรารู้ ข้อจำกัด รู้ทั้ง ข้อเสีย และข้อดี ของจอ LCD ขอให้ใช้ประโยชน์จากมันให้เต็มที่

สวัสดี