ความลับ ของ ชัดลึก

หากใครเคยสังเกต บนเลนส์ บริเวณ แหวนโฟกัส ที่ มีตัวบอกระยะ ว่า ตอนนี้เราโฟกัสอยู่ที่กี่เมตร หรือกี่ฟุต
ในเลนส์บางตัว โดยเฉพาะ เลนส์ prime ช่วง ใกล้เคียง normal จะเห็นตรงนี้ชัดเจน
ว่ามี ตัวเลข 8? 11? 16 บานออกมาสองข้าง ชี้ๆ ไปที่ ตัวscale บอกระยะ

ตัวเลขนี้ เอาไว้บอก “ระยะชัดลึก” นั่นเอง

แล้วมันใช้งานยังไง ละ

ให้ดูตัวอย่าง เลนส์ตัวนี้เป็นเลนส์ 28 mm
เมื่อโฟกัสที่ระยะ 3 เมตร? หากเราเปิดหน้ากล้องที่ F/16 ระยะชัดจะคลุมตั้งแต่ 1 เมตร ไปจนถึง infinity (ระยะไกลโคตรพ่อ)

แต่เมื่อโฟกัสที่ระยะ 30 เซนติเมตร และเปิดหน้ากล้องที่ F/16 เท่าเดิม ระยชัดจะคลุม ด้านหน้าแค่ ไม่ถึง 5 เซนติเมตร (จะเห็นว่าเส้น F16 ไปไม่ถึง 0.25 บน scale )

เลนส์ แต่ละแบบแต่ละยี่ห้อ ก็มี scale บอก ด้วยวิธีต่างๆ กัน เช่น การใช้สี แบบเลนส์ ของ nikon
เลนส์ ซูม แบบดึงสมัยก่อน ก็มี scale ที่บานบอกตามสัดส่วนของ Focal Length ที่เปลี่ยนไป

การควบคุม Dof ส่วนมากจะ ใช้กับ การถ่ายภาพวิวที่ต้องการให้เกิดการชัด “ตลอดช่วง” ในภาพ
เช่น ถ่ายภาพมี ฉากหน้าเป็นก้อนหิน ที่ 2 เมตร? วัตถุหลัก ที่ 5 เมตร? และ มีฉากหล้งที่ infinity
ช่างภาพทิวทัศน์ ระดับซีเรียส จะ เปิดหน้ากล้อง แค่พอจะทำให้ คลุมระยะชัดตั้งแต่ 2 เมตร – infinity เมื่อโฟกัส ที่ 5 เมตร เป็นต้น

ทีนี้ถ้าสังเกต ดีดี จะพบว่า เลนส์ที่ TELE มากๆ หรือ Wide มากๆ เข้า scale ตรงนี้จะไม่มีประโยชน์นัก
เนื่องจาก เลนส์ TELE มาก ระยะ Dof จะน้อยจน ไม่สามารถเขียน scale ได้ นอกจากที่หน้ากล้อง f/22 ซึ่งปกติเราใช้งานหน้ากล้อง f/22 น้อยมากๆ??? หรือ เลนส์ไวด์ มากๆ ต่ำถึง 20 mm ลงไป ระยะDof ก็ มากซ่ะจน ไม่ว่าเราจะเปิดหน้ากล้องกว้างแค่ไหน ก็ยังคลุม ความชัด เกือบทั้งภาพอยู่ดี

scale ตรงนี้จะมีไว้เพื่อเป็น ไกด์ สำหรับการถ่ายภาพ บางรูปแบบที่ต้องการ ค่าประมาณ ระยะชัดลึกที่หน้ากล้องแคบมากๆ บนเลนส์ ในช่วง 20 – 50 mm

สำหรับการถ่ายภาพทั่วไป หากเราไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง เรามักจะโดนจำกัด ให้เปิดหน้ากล้องที่ค่าหนึ่งๆ โดยสนใจ DOFในเชิงความงาม และ สปีดชัดเตอร์ ที่พอสำหรับ การถือถ่ายด้วยมือ ซ่ะมากกว่า
คือ ไม่ได้มองว่า ส่วนที่ชัดมาก คลุมระยะมากแค่ไหน แต่มองว่า ฉากหลัง “เบลอ” แค่ไหน ซ่ะมากกว่า

ส่วนตัวผม ใช้วิธีหัดใช้เลนส์ ที่มีอยู่ ควบคุม Dof ให้ได้ผลในระดับที่คาดหวังไว้ จากการถ่ายภาพจนชำนาญ เช่น
———————-
จำไว้ว่า เลนส์ 50 ถ่ายภาพบุคคลครึ่งตัว หน้ากล้อง ที่ 3.5 ตาชัด หูเบลอ แต่ยังพอไหว ไม่ถึงกับเบลอน่าเกลียด แสงไม่พอ เปิด 2.8 ได้ การเปิด 1.8 Dof น้อยเกินไป เป็นต้น
———————-
ซึ่งต้องเรียนรู้จากการถ่ายซ้ำๆ จนชำนาญในเลนส์ แต่ละตัวที่มี
และ แต่ละคนอาจจะ ยอมรับ ความเบลอ ได้แตกต่างกันตามสายตาที่มองความงาม ต่างกัน
การถ่ายภาพจนชำนาญ จึง เป็นหนทางที่ เข้าใจง่ายกว่า สำหรับเราๆ ที่ไม่ได้จะถ่ายโปรดักส์หรืองานซีเรียสจริงจัง
และ ยิ่งในยุคดิจิตอลที่ การถ่ายภาพเยอะๆ สามารถทำได้ ก็เป็นหนทางที่ทำให้เราซึมซับส่วนนี้ได้เร็วขึ้น
วิธีการคือ ในการเล่น dof สักภาพ อาจจะ เิปิดหน้ากล้อง สัก สามค่า แตกต่างกัน
แล้วมาดูผลลัพธ์ ที่ดีที่สุดสำหรับ มุมมองแต่ละระยะ แล้ว จดจำไว้

สำหรับ ท่านที่ใช้เลนส์ ซูม หรือไม่มี scale ดังกล่าวแล้วอยากจะลองดูว่า DOFของเลนส์ที่มี? คลุมระยะแค่ไหนอย่างไร
ให้ ไปที่ http://www.dofmaster.com/ แล้วลองโหลดโปรแกรม ต่างๆ ของ ทางเว็บมาลองใช้ดู
จะสามารถสร้าง ตาราง ค่า DoF ที่ Focal Length ต่างๆ ได้ มีรูปแบบหลากหลาย ลองศึกษาด้วยตัวเองได้

สวัสดี