เรื่อง X ของ แสง ploarized

x-polarlized006
ไม่นานนี้เพิ่งอ่าน บทความอันหนึ่งบอกว่า “ให้นอนแก้ปัญหา จะแก้ได้ดีขึ้น ฝันถึงได้ยิ่งดี”
เพราะจะเป็นช่วงเวลาที่ มีความคิดสร้างสรรสุดๆ (คาดว่าเพราะสติเหลือน้อย 555 )
.
วันนี้ ช่วงค่ำๆ ระหว่างที่นอนปวดหัวอยู่ ก็บังเกิดกับตัวผมเอง
.
เดือนที่ผ่านมา นิตยสาร Digital Camera ได้ ลงบทความอันหนึ่ง เกี่ยวกับ Cross Polarized
โดยบอกให้ไปซื้อ แผ่นฟิล์ม Polarize มา แถม บอกด้วยว่า “หารกันหลายๆคนนะ ราคามันแพง” ผมก็คิดในไจว่า “ไอ้เวร แล้วคนไทยมันจะไปหาจากไหนฟ่ะ” ( Digital Camera เป็นนิตยสารแปล จาก UK )
.
เมื่อวานอัพเดทบทความเกี่ยวกับ ฟิลเตอร์ โพลาไลซ์ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
ปรากฎว่า เมื่อวาน น้อง blue400D ได้เข้ามา Comment บทความ ในมัลติพายว่า
“เอา C-PL ไปตัดแสงจากจอ LCD เล่นอยู่บ่อยๆ เลยคิดว่ามันเป็น linear มาตลอด ”
อ่านจบ ก็ยังไม่ได้คิดอะไร แค่คิดว่า “อืมจริงด้วย จอ LCD มันก็ Polarized”
.
พอนอนเคลิ้มๆ กำลังปวดหัว เมื่อค่ำ “พระเจ้าจ๊อดมันยอดมาก นี่มันใช้งานกันได้นี่นา”
ความรู้ 2 อย่างมาบรรจบกัน ดังโครม ตอนกำลังเคลิ้ม ปลุกให้ผมลุกขึ้นมาลองทำให้ทุกท่าน ได้ดู
——————————-
Corss Polarlized คือ การที่ ปกติ เมื่อแสงผ่าน ฟิลเตอร์ PL มาเราจะได้แสง Liner Polarized
ผลก็คือหากเรานำฟิลเตอร์ PL อีกตัวหนึ่ง มาวางในแนวตั้งฉาก กับ PL ตัวแรก
แสงจะไม่สามารถผ่านฟิลเตอร์ตัวที่ 2 มาได้เลย
x-polarlized001
ทีนี้ ในด้านเทคนิคการถ่ายภาพ หากเรานำวัตถุที่ “สามารถเปลี่ยนแกน Polarized หรือ ทำให้ แสงไม่ Polarized ” มาวางขวาง ทางไว้ แสงนั้นก็จะสามารถ ฟิลเตอร์ ตัวที่2ไปได้
x-polarlized002
ทีนี้ มาลองให้เห็นแจ้งกัน
——————————-
เตรียมอุปกรณ์
1. ไฟล์ภาพสีขาวขนาดใหญ่ เท่าหน้าจอ (หรือใหญ่กว่า)  สร้างภาพ สีขาวขึ้น ใน PS ก็ได้ครับ
2. จอ LCD จะเป็นโน๊ตบุ๊ค หรือ จอ PC หรือ จอ Mac ก็ได้ ให้ทดลอง เอาฟิลเตอร์ CPL มาส่องแล้วหมุนดู ถ้าได้สีดำ ก็ใช้ได้
3. พลาสติกใส หรือวัตถุใสๆ หรือ เกือบจะใส หลายๆแบบ
4. และแน่นอน ครับ ต้องมีกล้อง + ฟิลเตอร์ CPL
x-polarlized003
——————————-
.
วิธีการ

1. พับจอ LCD หรือ วางนอน ให้เป็นระนาบเดียวกับพื้น
โหลดรูป สีขาวขึ้นมา ให้เต็มหน้าจอ ดังภาพ
2. วาง วัตถุที่เตรียมไว้ ลงไปบนหน้าจอ (ระวังจอเป็นรอย)
3. ปิดไฟในห้อง
4. ยกกล้องที่ติดฟิลเตอร์ C-PL มาส่องดู หมุนฟิลเตอร์ จนจอเป็นสีดำ สวรรค์จะบังเิกิด
ที่เหลือ ก็แค่ “สร้างสรรมุมมอง”
x-polarlized004.
**หมายเหตุ. อยากได้ภาพเนี๊ยบจำเป็นต้องใช้ ขาตั้งกล้อง
ผมไม่ได้ใช้ขาตั้ง ต้องอัด ISO 1600
.

ผ่างงงง !! ผลลัพธ์
x-polarlized005
ฝากล่อง ฟิลเตอร์

ด้วย วัสดุพวก พลาสติกใสบางประเภท จะให้ effect พิสดาร เนื่องจาก แสงที่ผ่านออกมาจะมีคลื่นความถี่ ไม่เท่ากัน
เลยทำให้เกิดเป็น สีรุ้ง ดังที่เห็น ซึ่งวิธีการแบบนี้ รู้มาว่า วิศวกรใช้เพื่อตรวจสอบโครงสร้างของแบบจำลองพลาสติก
ว่าจุดไหน รับแรงอย่างไรได้
.
วัสดุพวก แก้วใส และ น้ำ ไม่ทำให้เกิดสีรุ้ง แค่หักเหแสงจนสามารถถ่ายติดบางส่วนมาได้
.
ไปลองดูครับ สนุกดี ไม่เสียเงิน (ยกเว้นต้องไปซื้อ ฟิลเตอร์ CPL หรือ บ้านไม่มี LCD อะนะ)

ปล. ขอบพระคุณ น้อง blue400D มากครับ สำหรับ Comment กระตุกต่อมความรู้

ตัวอย่างภาพ x-polarlized006
x-polarlized007x-polarlized009
x-polarlized010